วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความยุติธรรมในสังคม


             มนุษย์เป็นสัตว์ที่อยู่เป็นสังคม การที่อยู่ร่วมกันก็ย่อมมีการประพฤติปฏิบัติต่อกันและกัน รวมทั้งมนุษย์แต่ละคนย่อมมีแนวปฏิบัติของตนเองว่า จะกระทำอะไร อย่างไร ด้วยเหตุผลอะไร โดยธรรมชาติมนุษย์มีแนวโน้มที่จะใฝ่หาความสุข ความสบาย หลีกหนีความทุกข์ยาก ความลำบาก และโดยธรรมชาติมนุษย์อาจจะปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างเลวร้ายหรืออย่างเอารัดเอาเปรียบ หากว่าตนเองจะได้รับประโยชน์หรือความสุขความสบายเป็นเครื่องตอบแทนถ้าทุกคนปฏิบัติเช่นนั้นสังคมก็จะยุ่งเหยิงวุ่นวายที่สุดแล้วก็คงไม่มีใครที่จะอยู่ได้อย่างสุขสงบ
ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีกฏเกณฑ์ร่วมกัน การที่จะให้ผู้อื่นเคารพสิทธิของตนเองและไม่เบียดเบียนตนเอง ตนก็ต้องเคารพสิทธิของผู้อื่นและไม่เบียดเบียนผู้อื่น ตนเองอยากให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อตนเองอย่างไร ก็ต้องปฏิบัติอย่างนั้นต่อผู้อื่น
ปราชญ์ในสมัยกรีกโบราณเช่น โสเครตีส เพลโต และอริสโตเติ้ลต่างก็พยายามหาคำตอบที่ว่า อะไรคือจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต? ความดีคืออะไร? และมนุษย์ควรจะปฏิบัติตนอย่างไร? เอาอะไรเป็นเกณฑ์ตัดสินว่าดี? ความดีนั้นเป็นสากลหรือไม่ หรือความดีจะเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมทางสังคมแต่ละยุคสมัย? ความยุติธรรมคืออะไรและใช้เกณฑ์อะไรตัดสิน?

ความยุติธรรมเป็นแม่แบบของแนวทางต่างๆ เป็นแนวทางในเกณฑ์การตัดสิน ซึ่งมีกฏหมายเป็นเครื่องมือในการทำหน้าที่ ความยุติธรรมนั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดเพราะการที่คนเราจะกำหนดว่าอะไรคือความดี แล้วความดีกับความชั่วต่างกันตรงไหนเป็นเรื่องที่ต้องวิเคราะห์กันอย่างละเอียด

โสเครตีสเชื่อว่าถ้าเราไม่สามารถหาคำนิยามของคุณธรรมเหล่านี้ได้ เราก็จะไม่สามารถมีความรู้เกี่ยวกับคุณธรรมได้ และการตัดสินว่าการกระทำหนึ่งมีความยุติธรรม หรือกล้าหาญ ฯลฯ หรือไม่ ย่อมปราศจากหลักเกณฑ์ที่น่าเชื่อถือ

คุณแม่คนนึงแบ่งเค้กให้ลูกแฝดทั้งสองคน คุณแม่แบ่งให้ลูกคนที่โตกว่าไม่กี่ชั่วโมง น้อย กว่าอีกคน
คนโต บอกคุณแม่ไม่ยุติธรรม ถึงผมจะแก่กว่าไม่กี่ชั่วโมงก็ไม่ใช่ว่าผมจะได้เค้กน้อยกว่า(สมมติฮะสมมติ)
แล้วคุณคิดว่าความยุติธรรมคืออะไร
การแบ่งครึ่งๆ อย่างเท่ากัน หรือเปล่า.....
ขณะที่พี่คนโตกว่าบอกไม่ยุติธรรม ส่วนคนน้องว่ามันยุติธรรมดีแล้ว
หรือความยุติธรรมก็คือเรื่องของผลประโยชน์?

ความยุติธรรม คือ ยุติ และ ธรรม ตีความตามตัวอักษรได้ว่า เป็นธรรมอันนำไปสู่ความยุติ คือจบลงแห่งเรื่องราวJohn Lawl กล่าวไว้ว่า Justice is conditions of fair equality of opportunity

ในความเห็นราบูคิดว่าความยุติธรรมก็เหมือนกับประชาธิปไตยคือ ความคิดเห็นของคนส่วนมากที่มีความคิดเห็นอย่างเดียวกัน ผลประโยชน์ที่ได้รับคือผลประโยชน์ที่กลุ่มคนได้รับเหมือนกัน คิดว่าเหมือนผลประโยชน์ของส่วนรวมนั่นแหละ แน่นอนว่าบางครั้งความยุติธรรมมันต้องขัดกับผลประโยชน์ของคนกลุ่มๆนึง
ยกตัวอย่างเช่น การกำหนดให้มีกฎหมายบังคับใช้ในสังคม ถ้าคนไหนทำผิดตามหลักเกณฑ์ของสังคมนั้นจะมีบทบัญญัติในการลงโทษ ซึ่งคนส่วนมากเห็นด้วยกับหลักการข้อนี้ ตัวอย่างเช่น คนที่ขโมยของถูกปรับ ฯลฯ นั่นคือความยุติธรรมของสังคม
ความยุติธรรมเป็นตัวกำหนดทิศทางของสังคม ซึ่งความยุติธรรมของแต่ละสังคมไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น หากสังคมหนึ่งทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า การขโมยของเป็นเรื่องที่ถูกต้อง ถือว่ายุติธรรม ซึ่งในความเป็นจริงแล้วความยุติธรรมที่เป็นที่นิยมมากที่สุดเป็นความยุติธรรมที่ต้องอยู่คู่กับ คุณธรรมและจริยธรรม ที่เป็นเครื่องช่วยในการกำหนดกฎเกณฑ์ว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งที่ดี ถูกต้อง และเหมาะสม แล้วความยุติธรรมแบบไหนที่คนส่วนมากจะยอมรับ

แนวคิดที่ยึดหลักคุณธรรม หรือคุณงามความดี (virtue)
อริสโตเติ้ลกล่าวว่า มนุษย์ทุกคนจะต้องเลือกเองว่าจะทำอะไรซึ่งดีสำหรับตนเอง และในขณะเดียวกันก็ดีสำหรับผู้อื่นด้วย ในการเลือกต้องใช้หลักของคุณธรรมมากกว่าที่เลือกตามความพอใจของตนเอง คุณธรรมสามประการที่อริสโตเติ้ลเน้นได้แก่
temperance (การรู้จักควบคุมตน, การข่มใจ,การรู้จักพอ),
courage (ความกล้าหาญ) ความกล้าหาญคือการเลือกตัดสินใจด้วยเหตุผลถึงแม้จะตระหนักถึงอันตรายที่อยู่ข้างหน้า ผู้ที่มีความกล้าหาญไม่ใช่ผู้ที่ปราศจากความกลัว แต่เลือกกระทำด้วยความเชื่อมั่นว่าสิ่งที่กระทำคือความถูกต้อง ไม่ใช่กล้าบ้าบิ่นขาดการไตร่ตรองด้วยปัญญา
justice (ความยุติธรรม) นั่นคือมนุษย์ทุกคนควรปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเท่าเทียมกันเหมือนที่อยากให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อตนเอง

จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ, ศีลธรรม, กฏศีลธรรม (1) ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า ethic ซึ่งหมายถึง system of moral principles, rules of conduct (2) คำว่า ethic มีรากศัพท์มาจากคำว่า ethos ในภาษากรีกซึ่งหมายถึงข้อกำหนดหรือหลักการประพฤติปฏิบัติอย่างถูกต้อง และตรงกับคำในภาษาลาตินว่า mores ซึ่งต่อมากลายเป็นคำว่า morality ในภาษาอังกฤษ ( 3 )
คำว่า จริยศาสตร์ หมายถึง ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยความประพฤติและการครองชีวิตว่า อะไรดีอะไรชั่ว อะไรถูกหรืออะไรผิด หรืออะไรควรอะไรไม่ควร (1) ตรงกับคำว่า ethics ในภาษาอังกฤษ


แนวความคิดเรื่องประโยชน์ส่วนรวม ( Utilitarianism)
เมื่อมนุษย์อยู่รวมกันเป็นสังคมใหญ่ก็จะทำให้เกิดข้อขัดแย้งว่า pleasure ของใครจะสำคัญกว่ากัน?คำถามเหล่านี้ได้รับการอธิบายโดยแนวความคิดที่ว่า การกระทำที่นำประโยชน์สูงสุด แก่จำนวนคนที่มากที่สุด และให้ประโยชน์ได้นานที่สุด คือแนวทางปฏิบัติของมนุษย์


ความยุติธรรมมีจริงหรือไม่ ? ความยุติธรรมนั้นเมื่อเราแยกจากหมวดหมู่ของคำ ก็จะรู้ว่า คำว่าความยุติธรรมนั้น เป็นนามธรรม(abstract noun) คือไม่มีตัวตนจับต้องไม่ได้ ตามหลักวิทยาศาสตร์จะขออธิบายดังนี้ ความยุติธรรมนั้นจับต้องไม่ได้ ความยุติธรรมมีจริงเพราะเป็นเครื่องมือของมนุษย์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเงื่อนไขไปสู่ข้อยุติของปัญหานั้นๆ ความยุติธรรมสัมผัสได้ แต่สัมผัสได้ด้วยใจ(mind)เป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนเพราะว่าจิตใจ (mental) ของคนเราไม่เหมือนกัน




                              


                              

                               

                              

                           





 

    






































                               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น